วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ตำนานประวัติศาสตร์ภูพระบาทบัวบก (งานเดี่ยว)


อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท


            อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท  ตั้งอยู่ที่บ้านติ้ว หมู่ 6 ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี  โดยอยู่ในความดูแลของกรมศิลปกร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2524 และเปิดเป็นทางการเมื่อ 26 มิถุนายน 2535 มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 3,430 ไร่ เดิมชื่อ "ภูกูเวียง"  อยู่ในแนวเทือกเขาภูพาน เป็นทิวเขาที่ไม่สูงนัก โดยเฉลี่ย 300-500 เมตร ทอดยาวจากจังหวัดอุบลราชธานี มายังมุกดาหาร  กาฬสินธิ์  สกลนคร และอุดรธานี  ซึ่งในปัจจุบันรวมถึงจังหวัดหนองบัวลำภูด้วย สภาพของป่าเป็นป่าป่าเบญจพรรณ ไม้ส่วนมากเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น  มะค่า  เต็ง  รัง  ขิงชันแดง  ประดู่ เป็นต้น  เป็นแหล่งพบหลักฐานว่าเป็นแหล่งโบราณคดีที่มีมนุษย์อยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และติดต่อเรื่อยมาถึงสมัยล้านช้าง และอยุธยา
           ภูพระบาท  เป็นเขาแห่งหนึ่งที่มีหินรูปร่างประหลาดแปลกตา เช่นเดียวกับในอุทยานอีกหลายแห่ง โดยเฉพาะในภาคอีสาน เช่นที่อำเภอเทพสถิตย์ จังหวัดชัยภูมิ หรือ ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น   ซึ่งล้วนเกิดจากขบวนการทางธรรมชาติ แต่มนุษย์หลายสมัยได้เข้ามาให้ความหมายกับภูเขาแห่งนี้ พร้อมทั้งทิ้งร่องรอยวัฒนธรรมไว้ให้ชมจนถึงปัจจุบัน  ซึ่งมนุษย์เป็นผู้สร้างความหมายใหม่ให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ สถานที่ท่องเที่ยว ศึกษา
เหล่านั้นแปรสภาพเปลี่ยนรูปร่างไป กลายเป็นรูปร่างประหลด ๆ ให้ผูกเป็นนิยายให้คล้องจองกันได้ และในเวลานั้นยังไม่มีมนุษย์เกิดขึ้น แม้จะล่วงเข้ามาในยุคล้านปีที่ผ่านมา ก็เชื่อว่ายังไม่มีมนุษย์ที่ภูพระบาท  ซึ่งตอนนั้นชื่อก็คงยังไม่มีเพราะไม่มีมนุษย์มาตั้งให้  เมื่อมีมนุษย์เกิดขึ้นในโลก กระจายอยู่ทั่วไป เชื่อกันว่าดินแดนอีสานเป็นส่วนหนึ่งที่มีมนุษย์ยุคแรก ๆ ที่เรียกว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เข้ามาอยู่อาศัย  ซึ่งนักโบราณคดีเชื่อว่ามีมนุษย์เข้ามาอยู่อาศัยในราว 2,000-3,000 ปีมาแล้ว  เนื่องจากพบภาพเขียนสีบนผนังหินมากมายหลายแห่ง  เป็นภาพเขียนสีแบบเดียวกับที่พบในแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ทั่วไป เช่นที่ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น
            เข้าใจกันว่ามนุษย์ยุคประวัติศาตร์ที่อาศัยอยู่รอบ ๆ ภูพระบาทนี้คงมีความเชื่อว่า ภูพระบาทเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์  ซึ่งอาจจะเป็นด้วยรูปลักษณะที่พิกล ๆ ประหลาดของเสาหิน หรือเพิงหินบนเขา ซึ่งมองดูแล้วไม่น่าเชื่อว่าไปตั้ง ไปซ้อนกันโดยธรรมชาติได้อย่างไร มนุษย์นั้นจึงอาจจะเชื่อว่านี่คือ  "หลักของโลกและประตูสู่บาดาล"  ก็เป็นได้
            มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์คงต้องใช้ภูพระบาทที่มีลานหินกว้าง มีเพิงหินเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรม ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และยิ่งเมื่อประมาณ 1,000 ปีที่ผ่านมา พุทธศาสนาได้แพร่หลายเข้ามายังเอเซียอาคเนย์ พร้อมกับรูปแบบศิลปแบบใหม่ที่เรียกว่า แบบ "ทวาราวดี"  เชื่อว่าทำให้ชุมชนแห่งนี้รับเอามาผสมผสานกับความเชื่อถือดั้งเดิมเกิดเป็น พุทธแบบทวาราวดี  ซึ่งจะเห็นได้จากเสนาหินรอบเพิงหินหลายแห่ง และรูปลักษณะพระพุทธรูปบางองค์เป็นแบบทวาราวดี และเมื่อวัฒนธรรมของขอมแพร่เข้ามา ก็ส่งอิทธิพลความเชื่อแบบฮินดู หรือพรามหณ์ มาสู่ชุมชนภูพระบาท ดังจะเห็นได้จากการดัดแปลงพระพุทธรูปให้กลายเป็นเทวรูปที่ถ้ำพระ  มีการแกะสลักผ้านุ่งของเทวรูปให้เป็นแบบของขอม และนักโบราณคดีเชื่อว่าศิลปที่พบที่ภูพระบาทนี้ ได้รับอิทธิพลมาจากล้านช้างและกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 22-23 และสิ้นสุดการเปลี่ยนแปลงในยุคของอยุธยาตอนปลาย ต่อจากนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นอีก จึงถือว่าเป็นอุทยานประวัติศาตร์ แต่ยังไม่ถึงขนาดเป็นมรดกโลกเหมือนอย่างในบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
            การเดินทางไปภูพระบาท  ก็ต้องไปผ่านจังหวัดอุดรธานีเสียก่อน  ซึ่งเจริญขึ้นแทบจะจำถนนหนทาง  ร้านอาหารเก่าๆ  แทบไม่ได้  รถรามากมายวิ่งกันขวักไขว่ไปหมด  โรงแรมที่พักไม่ใช่โรงแรมเดิมที่เคยพักคือเจริญโฮเตล  โรงแรมไหนไม่บอกเดี๋ยวเขาเล่นงานเอา  โรงแรมใหญ่โต  บริการพอใช้  การจราจรวุ่นวายและหนวกหูด้วยเสียงเพลงจากผับทั้งหลายที่แทบจะล้อมโรงแรมนี้ดังตึงๆ กว่าจะสงบได้ก็เลยค่อนคืนไปแล้ว  หากเป็นสมัยที่ยังหนุ่มกว่านี้ก็คงต้องสัก 20 ปี  เสียงตึงๆ อย่างนี้ไม่เดือดร้อนเพราะนั่งก๊งกันค่อนคืนเหมือนกัน  กว่าจะขึ้นมาห้องนอนก็แทบจะคลานขึ้นมา  หัวเอียง 45 องศาก็กรนแล้ว  แต่ตอนนี้ก็ใกล้ร้อยเข้าไปทุกทีเจอเสียงเพลงตึงๆ  นอนไม่หลับและย่านนี้จะหาที่จอดรถได้ยากด้วย  เพราะคนจะมาเที่ยวกันแยะ
           
         




ตำนานหอนางอุษา


ตำนานรักอันลือเลื่อง

            ห่างหายกันไปนาน วันนี้มาอัพเดตตำนานรักแสนเศร้าของชายหญิงคู่หนึ่งที่มีความรักแท้ แม้จะมีความตายมาพรากจากกันก็ตาม 

                หากเอ่ยถึงคำว่า "รักแท้" ในยุคนี้นับว่าหาได้ยากเต็มที ไม่เหมือนสมัยก่อนที่ผู้คนยึดมั่นในรัก ถึงจะมีอุปสรรคขัดขวางรักก็ยังร่วมกันฟันฝ่า สำหรับเรื่องราวความรักแท้ประเภทแม้ตัวตาย แต่ไม่คลายรักเธอนั้น ได้กลายมาเป็นตำนานรักที่พ้องเข้ากับสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง พร้อมๆกับตำนานความรักอมตะที่จารึกไว้ให้คนรุ่นหลังได้กล่าวถึงและซาบซึ้งในสถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆ 


 อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท : ตำนานรัก "อุสาบารส" 

            อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาภูพาน ในเขต อ.บ้านผือ 

จ.อุดรธานี  เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสำคัญเกี่ยวกับอารยธรรมของมนุษย์  และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศ คือมีหินทรายที่ถูกกัดกร่อนด้วยกาลเวลาเกิดรูปร่างแปลกตาในรูปทรงต่างๆ นับเป็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติในการจัดแต่งกลุ่มก้อนหินให้มีลักษณะต่างๆซึ่งคนรุ่นเก่าสมัยก่อนได้นำมาผูกแต่งจินตนาการเป็นเรื่องราวให้สอดคล้องกับสถานที่ นั่นคือ  


ตำนานรักอุษา-บารส อันลือเลื่อง

            พระยาพานผู้ครองเมืองพาน ได้นำธิดาแสนสวยชื่อ "นางอุษา" ไปฝากไว้กับฤาษี ในบริเวณป่าแถวภูพาน เพื่อให้นางอุษาได้ร่ำเรียนวิชา โดยสร้างหอคอยให้อยู่อย่างโดดเดี่ยวลำพังคนเดียว ซึ่งต่อมาชาวบ้านเรียกว่า หอนางอุษา มีลักษณะเป็นเพิงหินรูปคล้ายดอกเห็ด ขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 7 เมตร ตรงผนังหินด้านทิศเหนือของก้อนหินก้อนล่างมีภาพเขียนสีเป็นลายเส้นสีแดง  2-3 เส้น ต่อมานางอุษาได้ร้อยดอกไม้เป็นรูปหงส์  พร้อมข้อความแสวงหาความรักลงในกลีบดอกไม้ อธิษฐานว่าใครที่จะเป็นคู่ครองของนาง ขอให้เก็บพวงมาลัยพวงนี้ได้และขอให้ได้พบกัน แล้วนำไปลอยน้ำ ปรากฏว่า "ท้าวบารส" โอรสแห่งเมืองพระโค  เป็นผู้เก็บได้และนึกรักใคร่นางอุษาทันที ได้ออกเดินทางรอนแรมไปตามป่าเขากับม้าคู่ใจ จนไปถึงที่อยู่ของนางอุษา ได้ผูกม้าไว้ที่เพิงหิน ซึ่งเรียกว่า คอกม้าท้าวบารส (มีภาพเขียนสีอยู่บนเพิงหินด้านทิศเหนือ) เมื่อทั้งสองได้พบกัน ความรักก็เกิดขึ้น แต่เมื่อพระยาพานทราบข่าวก็โกรธมาก ได้ท้าพนันสร้างวัดแข่งกัน ภายในเวลาดาวประกายพรึกขึ้น หากฝ่ายใดสร้างเสร็จไม่ทันก็จะถูกตัดศีรษะ ฝ่ายท้าวบารสซึ่งมีแรงงานน้อยกว่า ได้คิดอุบายนำเทียนจุดสว่างไปตั้งอยู่บนปลายไม้เหนือยอดเขาฝ่ายพระยาพานเข้าใจผิดคิดว่าดาวประกายพรึกขึ้น จึงพากันหยุดสร้างขณะเดียวกันฝ่ายท้าวบารสก็เร่งสร้างจนเสร็จ เช้าขึ้นพอรู้ว่าวัดที่ตนเองสร้างไม่เสร็จ พระยาพานจึงถูกตัดศีรษะตามสัญญาแต่พระยาพานก็สามารถฟื้นขึ้นมาใหม่ได้และเกิดการสู้รบกัน  ท้าวบารสได้สังหารพระยาพาน นางอุษาเศร้าโศกเสียใจมาก ที่ท้าวบารสฆ่าพ่อของตนเอง และเมื่อกลับไปเมืองพะโค ก็ถูกพระมเหสีทั้ง 10 ของท้าวบารสรังแกและออกอุบายให้ท้าวบารส ออกไปสะเดาะเคราะห์ในป่าเป็นเวลา 1 ปี  นางอุษาจึงหนีกลับไปที่หอนางอุษาด้วยความรู้สึกผิดหวังในความรักเกิดล้มป่วยเพราะตรอมใจ  กระทั่งเสียชีวิตไป ฝ่ายท้าวบารสทราบข่าวก็รีบมาหา  เห็นนางอุษาสิ้นชีวิตไป ก็ตรอมใจสิ้นตามนางไปอีกคน เป็นยังไงบ้างคะ ตำนานแสนเศร้าของทั้งคู่ พบกันใหม่พร้อมกับตำนานรักที่จะได้นำเสนอต่อไป
   หอนางอุสา 
            หอนางอุสา “หอนางอุสา”ถือเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท มีลักษณะเป็นโขดหินรูปคล้ายเห็ดอยู่บนลานหิน โดยก้อนหินด้านบนมีขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 7 เมตร สูงจากพื้นประมาณ 10 เมตร สภาพเช่นนี้แต่เดิมเกิดจากการกระทำตามธรรมชาติและเนื่องจากมีรูปทรงที่แปลกตา มนุษย์ในสมัยก่อนจึงได้ดัดแปลงโดยการก่อหินล้อมเป็นห้องขนาดเล็กเอาไว้ที่เพิงหินด้านบน โดยก่อเป็นห้องที่มีประตูและหน้าต่างขนาดเล็กอยู่ที่ผนังทั้งสองข้าง ห้องมีพื้นที่ไม่กว้างมากนัก แต่สามารถใช้ประกอบพิธีกรรมหรือบำเพ็ญเพียรได้เป็นอย่างดี สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ มีใบเสมาหินขนาดกลางและใหญ่ปักล้อมรอบหอนางอุสาเอาไว้ด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบริเวณนี้เป็นเขตศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนามาแต่ครั้งอดีตกาลแล้ว นิทานอุสา- บารส เล่าถึงหอนางอุสาว่าเป็นที่อยู่ของนางอุสาเมื่อครั้งมาศึกษาวิชากับฤาษีจันทา ซึ่งต่อมาท้าวบารสก็ได้แอบขึ้นไปหาและอยู่กับนางอุสาบนหอสูงแห่งนี้
                                                                     หีบศพนางอุสา
          หีบศพนางอุสา หีบศพนางอุสา เป็นเพิงหินกว้างยาวประมาณ 5X6 เมตร มีแกนหินขนาดเล็กสองข้างค้ำยันหินก้อนใหญ่ที่ทับซ้อนด้านบนดูคล้ายกับโต๊ะหิน เพิงหินด้านล่างมีรอยการสกัดหินจนเรียบเป็นห้องโล่งกว้างประมาณ 2.50 เมตร แต่มีเพดานค่อนข้างเตี้ย อย่างไรก็ตามยังสามารถใช้ประโยชน์ในการบำเพ็ญเพียรได้ นิทานอุสา- บารส เล่าถึงหีบศพนางอุสาว่า เป็นสถานที่ฝังศพของนางอุสา ภายหลังจากพระนางสิ้นพระชนม์ชีพด้วยความตรอมใจ เนื่องจากไม่สมหวังในความรัก


ถ้ำช้าง

 
            ถ้ำช้าง “ถ้ำช้าง” เป็นโขดหินทรายตั้งอยู่บนลานหิน ในลักษณะของแท่งหินซ้อนกัน โขดหินนี้มีความกว้างประมาณ 3 เมตร ยาว 10 เมตร เพิงด้านในมีร่องรอยการสกัดหินด้วยเครื่องมือโลหะ (ประเภทสิ่ว) จนกลายเป็นพื้นเกือบเรียบ สามารถใช้นั่งบำเพ็ญศีลได้ บริเวณผนังหินด้านนอกสำรวจพบภาพเขียนสีอยู่ 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเขียนด้วยสีแดงเข้มเป็นลวดลายหยักขึ้นหยักลงที่ยังไม่ทราบความหมาย ซึ่งเป็นงานศิลปกรรมของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งเขียนเป็นลายเส้นรูปช้างด้วยสีแดงงดงามมาก สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือของช่างสมัยประวัติศาสตร์ในวัฒนธรรมลาว (ล้านช้าง)
หีบศพพ่อตา

            หีบศพพ่อตา (หีบศพท้าวกงพาน) “หีบศพพ่อตา” เป็นเพิงที่เกิดจากหินทรายสามก้อนวางทับกัน มีร่องรอยการสกัดหินที่พื้นผนังกลางและส่วนล่าง ทำให้เกิดเป็นห้องโล่งอยู่ทั้งสองข้าง ห้องด้านทิศตะวันตก (เรียกกันอีกชื่อว่า “ถ้ำมือแดง” ) มีรอยสกัดหินด้านล่างจนเป็นพื้นเรียบ เพื่อใช้นั่งบำเพ็ญเพียรหรือทำพิธีกรรม ที่เพดานด้านบนมีร่องรอยภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นรูปฝ่ามือข้างขวาของคน ลายเส้นรูปตาข่าย ลายเส้นโค้งคู่สลับลายหยักฟันปลา และลายเส้นรูปคล้ายรวงผึ้ง ห้องทางทิศตะวันออก สกัดเป็นพื้นเรียบสามระดับ โดยด้านในสกัดเป็นห้องทรงโค้ง (ตามแนวแกนหิน) และลดระดับมาเป็นห้องขนาดเล็กกว้างประมาณ 50 X 50 เซนติเมตร ที่มุมด้านหน้า ส่วนด้านนอกสกัดลดระดับลาดลงไปตามแนวลานพื้นหินธรรมชาติ นิทานอุสา – บารสเล่าว่าสถานที่นี้เป็นที่ฝังศพของท้าวกงพานที่ถูกตัดเศียร ภายหลังแพ้พนันต่อท้าวบารสในการแข่งขันสร้างวัด
                                                
 


พระพุทธบาทบัวบก จังหวัดอุดรธานี


        พระพุทธบาทบัวบก อยู่ที่อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี อยู่ห่างจากตัวเมืองอุดร ฯ ประมาณ 55 กิโลเมตร รอยพระพุทธบาท ประดิษฐานอยู่ภายในพระธาตุเจดีย์พระพุทธบาทบัวบก ซึ่งมีลักษณะคล้ายพระธาตุพนม

        ตามตำนานพระเจ้าเหยียบโลก กล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาโปรดสัตว์ในที่ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์ได้เสด็จมาประทับอยู่ที่ดอยนันทะดังฮี ในแคว้นหลวงพระบาง ได้ทรงทราบว่า นาคแถบฝั่งโขงมีความดุร้าย มักรบกวนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายอยู่เป็นประจำ เพื่อที่จะโปรดสัตว์ให้พ้นทุกข์ พระองค์จึงได้เสด็จไปยังถ้ำหนองบัวบาน และถ้ำบัวบก อันเป็นที่อาศัยของนาค 2 ตัว คือ กุทโธปาปนาค และมิลินทนาค พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมแก่กุทโธปาปนาค เมื่อกุทโธปาปนาคได้สดับพระธรรมเทศนา ก็บังเกิดความเลื่อมใสประกาศตนเป็นอุบาสก และถือพระไตรสรณาคมณ์เป็นสรณะ ที่พึ่งที่ระลึกตลอดชีวิต หลังจากนั้นกุทโธปาปนาคก็นึกถึงน้องชายคือมิลินทนาคว่า ควรจะได้สดับพระธรรมเทศนาจากพระพุทธองค์เช่นตน เพื่อจะได้ประพฤติตนในทางที่ถูกที่ควร จึงได้กราบทูลขอให้พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรด เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาถึงถ้ำบัวบกอันเป็นที่อยู่ของมิลินทนาค มิลินทนาคก็แสดงฤทธิ์อำนาจเพื่อขัดขวาง และทำร้ายพระพุทธองค์ด้วยวิธีต่าง ๆ แต่ไม่เป็นผล ในที่สุดจึงได้แปลงร่างเป็นมนุษย์ เข้าไปนมัสการพระพุทธองค์เพื่อขอขมา พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดมิลินทนาค เมื่อมิลินทนาคได้สดับพระธรรมเทศนาแล้ว ก็สำนึกผิดในสิ่งที่ตนได้กระทำไปแล้ว และทูลขอบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา แต่เนื่องจากมิลินทนาคมิใช่มนุษย์ พระพุทธองค์จึงอุปสมบทให้ไม่ได้ เพราะผิดพระวินัย ดังนั้นพระพุทธองค์จึงทรงประทานไตรสรณาคมณ์ ให้มิลินทนาคไว้เป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกและถือปฏิบัติต่อไป เป็นการเปลี่ยนวิถีชีวิต จากที่เคยเบียดเบียนทำร้ายสัตว์โลกมาเป็นช่วยเหลือเกื้อกูลสัตว์โลก ตามแนวทางของพระพุทธศาสนา

         เมื่อมิลินทนาครับไตรสรณาคมณ์แล้ว จึงกราบทูลขอรอยพระบาทพระพุทธองค์ไว้เป็นที่สักการะบูชา พระพุทธองค์ทรงพิจารณาสถานที่แล้ว จึงได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ ณ สถานที่นี้ แล้วจึงเสด็จกลับพระเชตวันมหาวิหาร พระพุทธบาทแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า พระพุทธบาทบัวบก ตามชื่อถ้ำบัวบกนี้มิลินทนาคอาศัยอยู่


บริเวณวัดพระพุทธบาทบัวบก มีสถานที่อันเนื่องมาจาก ตำนานข้าวต้น คือ ถ้ำพญานาค อยู่ไม่ไกลจากพระพุทธบาทนัก มีลักษณะเป็นรูโพรงขนาดใหญ่ พอที่คนสองคนจะลงไปได้พร้อม ๆ กัน กล่าวกันว่า เป็นที่อาศัยของพญามิลินทนาคตามตำนาน และเชื่อกันว่ารูถ้ำพญานาคนี้ สามารถทะลุออกไปสู่แม่น้ำโขงได้

          หลังจากนั้น พระพุทธบาทแห่งนี้ก็ถูกทอดทิ้งมาเป็นระยะเวลานานกว่าสองพันปี อาจจะมีผู้บูรณะมาตามลำดับแต่ไม่ปรากฎหลักฐาน การบูรณะครั้งล่าสุดดังที่เห็นเป็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นการบูรณะเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2462 โดยมีพระภิกษุสงฆ์จำนวนหนึ่งจากอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม มีพระศรีทัตเป็นผู้นำ ได้ธุดงค์มาตามลำดับจนถึง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เพื่อค้นหารอยพระพุทธบาทตามตำนานดังกล่าวข้างต้น ชาวบ้านในแถบนั้นก็ให้ข้อมูลตามที่ทราบ ในที่สุดก็ได้ค้นพบรอยพระพุทธบาทแห่งนี้ จากนั้นจึงได้ขอแรงชาวบ้านในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียง สร้างพระเจดีย์ครอบรอยพระบาท ในการก่อสร้างต้องนำวัสดุมาจากที่ห่างไกล ทั้งจากประเทศไทยและจากประเทศลาว การคมนาคมก็ไม่สดวก ทำให้การก่อสร้างเป็นไปด้วยความยากลำบาก และใช้เวลามาก แต่ด้วยแรงศรัทธาและความตั้งใจแน่วแน่ การก่อสร้างก็แล้วเสร็จ โดยใช้เวลาถึง 14 ปี

ครูควจจะมีทักษะพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอไรบ้าง

ครูควรจะมีทักษะพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอะไรบ้าง
ทักษะพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู

        
  ครูในยุคปัจจุบัน  ควรมีการความรู้เกี่ยวกับเรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศ  การใข้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครูเป็นเรื่องที่จำเป็นมากในยุคปัจจุบัน  การที่ครูรู้ทักษะพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ  ก็เป็นเรื่องง่ายสำหรับการที่จะนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการสอน  ในยุคปัจจุบันนี้  เช่น
         1. ใช้ Computer  ได้คลอง  และสามารถสอนได้เข้าใจ
         2. ใช้ โปรแกรม  Excel  ได้อย่างชำนาญ 
         3. ใช้ โปรแกรม  Powerpoint  ได้อย่างเข้าใจ และสามารถแก้ไข  เนื้อหาต่าง ๆ ได้ตลอดเวลา
         4. ใช้ โปรแกรม Word ได้อย่างเชี่ยงชาญ และสามารถพิมพ์ได้คลอง
         5. ควรรู้เรื่องต่าง ๆ ของเทคโนโลยีสารสนเทศ

          

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

กบฎแมนฮัตตัน (งานคู่)

    กบฏแมนฮัตตัน



เกิดเหตุการณ์ กบฎแมนฮัตตัน

            29 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เกิดเหตุการณ์ "กบฎแมนฮัตตัน" นำโดย นาวาโทมนัส จารุภา ผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย ได้บุกจี้ตัว จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ขณะกำลังทำพิธีรับมอบ "เรือขุดแมนฮัตตัน" ซึ่งสหรัฐอเมริกามอบให้แก่ประเทศไทย ที่ท่าราชวรดิฐ (จึงเป็นที่มาของ "กบฎแมนฮัตตัน") จากนั้นได้เชิญตัวจอมพล ป. ไปขังไว้ที่เรือหลวงศรีอยุธยา ซึ่งจอดอยู่ที่หน้ากองบัญชาการกองทัพเรือ หัวหน้าผู้ก่อการคือ นาวาเอกอานน บุญฑริกธาดา ได้สั่งให้หน่วยทหารเรือมุ่งเข้าสู่พระนครเพื่อยึดอำนาจ และประกาศตั้ง พระยาสารสาสน์ประพันธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี แต่เกิดการสู้รบกันหลายแห่งในพระนคร ระหว่างฝ่ายทหารเรือกับฝ่ายรัฐบาลคือทหารอากาศ ทหารบกและตำรวจ จอมพล ป. พิบูลสงครามจึงสามารถหลบหนีออกมาได้ ในที่สุดฝ่ายรัฐบาลได้ปรามปรามฝ่ายกบฏจนสำเร็จ


กบฏแมนฮัตตัน ชื่อเรียกเหตุการณ์การกบฏในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เมื่อทหารเรือกลุ่มหนึ่ง นำโดย น.ต.มนัส จารุภา รน. ทำการกบฏจี้ตัวจอมพล ป. พิบูลสงคราม ระหว่างเป็นประธานในพิธีรับมอบเรือขุดสันดอนสัญชาติอเมริกัน ชื่อ แมนฮัตตัน ที่กองบัญชาการกองทัพเรือ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โดยนำไปกักขังไว้ในเรือหลวงชื่อ "ศรีอยุธยา" ที่จอดรออยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา

 
หัวหน้าคณะก่อการ คือ น.อ. อานนท์ บุญฑริกธาดา รน. สั่งการให้ทหารเรือกลุ่มที่สนับสนุนการก่อการมุ่งหน้าและตรึงกำลังไว้ที่พระนคร และประกาศตั้ง พระยาสารสาสน์ประพันธ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม กระจายเสียงในฐานะนายกรัฐมนตรีจากในเรือ แต่ทางฝ่ายรัฐบาลไม่ยอม ได้กระจายเสียงตอบโต้ไปโดยใช้วิทยุของกรมการรักษาดินแดน (ร.ด.) โดยได้ให้นายวรการบัญชา ประธานสภาผู้แทนราษฎรรักษาการณ์นายกรัฐมนตรีแทน และตั้งกองบัญชาการขึ้นที่ทำเนียบรัฐบาล (ในขณะนั้นคือ พระที่นั่งอนันตสมาคม) จึงเกิดการต่อสู้ยิงกันอย่างหนักระหว่างทหารฝ่ายรัฐบาลและทหารฝ่ายก่อการ มีการทิ้งระเบิดจากเครื่องบินแบบ Spirt fire และ T6 ใส่เรือหลวงศรีอยุธยาที่อยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา จนกระทั่งเวลาประมาณ 15.00 น. ของวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เรือก็จม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถูกทหารเรือที่อยู่บนเรือนำว่ายน้ำหลบหนีออกมาได้ โดยการกบฏครั้งนี้นับว่าเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย เพราะสถานที่ต่าง ๆ เสียหาย และมีผู้บาดเจ็บล้มตายนับร้อยทั้งทหารของทั้ง 2 ฝ่าย และประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ภายหลังเหตุการณ์ผู้ก่อการได้แยกย้ายกันหลบหนีไปพม่าและสิงคโปร์
น.ต.มนัส จารุภา รน. ผู้ทำการจี้จอมพล ป. ได้หลบหนีไปพม่าได้สำเร็จ แต่ถูกจับกุมได้หลังจากลักลอบกลับเข้าประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2495

เหตุการณ์สิ้นสุดลงด้วยการจับกุมผู้ต้องหาร่วม 1,000 คน ปล่อยตัวเพราะหาหลักฐานไม่เพียงพอจนเหลือฟ้องศาลประมาณ 100 คน ภายหลังนักโทษคดีนี้ส่วนใหญ่ได้รับการนิรโทษกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2500 เนื่องในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ ในส่วนของกองทัพเรือ แม้ทหารที่ก่อการจะไม่ใช่ทหารระดับสูงและทหารเรือส่วนใหญ่ก็ไม่เกี่ยวข้องด้วย กระนั้น ต่อมา พล.ร.อ.สินธุ์ กมลนาวิน ผู้บัญชาการทหารเรือก็ยังต้องโทษตัดสินจำคุกนานถึง 3 ปี โดยที่ไม่มีความผิด และได้มีการปรับลดอัตรากำลังพลของกองทัพเรือลงไปมาก โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เช่น ยุบกรมนาวิกโยธินกรุงเทพ ยุบกองการบินกองทัพเรือไปรวมกับกองทัพอากาศ ย้ายกองสัญญาณทหารเรือที่ถนนวิทยุ ที่ต่อมากลายเป็นที่ตั้งของโรงเรียนเตรียมทหาร ซึ่งในปัจจุบันคือที่ตั้งของ สวนลุมไนท์บาซ่าร์ นั่นเอง
สาเหตุ
การก่อกบฏแมนฮัตตัน สืบเนื่องมาจากสาเหตุ 3 ประการ คือ
ประการที่ 1 ความไม่พอใจในการบริหารประเทศของรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม สมัยที่ 2 ซึ่งคณะรัฐประหาร พ.ศ.2490 สนับสนุน โดยทหารเรือเห็นว่า รัฐบาลของคณะรัฐประหารมิได้บริหารราชการแผ่นดินเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนอย่างแท้จริง ใช้วิธีเผด็จการโดยปรับปรุงกรมตำรวจให้มีลักษณะเป็น กองทัพ เพื่อข่มขู่ประชาชน และกวาดล้างฝ่ายตรงข้ามอย่างทารุณและไร้มนุษยธรรม
ประการที่ 2 ความตึงเครียดระหว่างทหารบกและตำรวจกับทหารเรือ ซึ่งมีมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยที่ทั้ง 2 ฝ่ายต่างสันบสนุนผู้นำต่างกัน ทหารบกสนับสนุนจอมพล ป. พิบูลสงคราม ทหารเรือสนับสนุนนายปรีดี พนมพงค์ ส่วนตำรวจนั้นมีปัยหาการกระทบกระทั่งกับทหารเรืออยู่เสมอและได้กล่าวหาทหารเรือในเรื่องที่มักให้ผู้กระทำความผิดประเภทใช้อาวุธปล้นจี้หลบซ่อนในเขตทหารเรืออีกด้วย
ประการที่ 3 ความเสื่อมโทรมในกองทัพเรือ เพราะรัฐบาลไม่ไว้วางใจและไม่ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่นับตั้งแต่ครั้งกบฏวังหลวง เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2492 มีการตัดกำลังนาวิกโยธินลง เพราะเห็นว่าไม่ใช่หน้าที่ของกองทัพเรือและรัฐบาลจัดสรรงบประมาณมาให้กองทัพเรือไม่เพียงพอที่จะนำมาปรับปรุงกองทัพได้
คณะผู้ก่อการสำคัญ
ผู้ก่อการกบฏที่เป็นผู้นำสำคัญ คือ พลเรือตรี ทหาร ขำหิรัญ นายทหารนอกราชการ อดีตผู้บังคับการกรมนาวิกโยธิน นาวาเอก อานนท์ ปุณฑริกาภา ผู้บังคับการกองสำรองเรือรบ นาวาตรี มนัส จารุภา ผู้บังคับการเรือหลวงรัตนโกสินทร์ นาวาตรี ประกาย พุทธารี สังกัดกรมนาวิกโยธิน และนาวาตรี สุภัทร ตันตยาภรณ์ สังกัดกรมนาวิกโยธิน นอกนั้นเป็นทหารชั้นผู้น้อย ส่วนผู้นำฝ่ายอื่น ๆ นั้นก็ได้รับการชักชวนจากทหารเรือที่มียศระดับกลาง ๆ โดยไม่มีการให้คำมั่นเท่าที่ควร จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การกบฏประสบความล้มเหลว



มาตรการหลังเหตุการณ์ยุติ
               ภายหลังเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตันยุติลง รัฐบาลได้ดำเนินการให้บ้านเมืองเข้าสู่สภาวะปรกติ ทั้งทางด้านความสงบเรียบร้อยของประชาชน การทหาร และตำรวจซึ่งได้รับความเสียหายจากการสู้รบครั้งนี้ รวมทั้งมีการปรับปรุงกองทัพเรือเสียใหม่ โดยแต่งตั้งคณะกรรมการปรับปรุงกองทัพเรือจำนวน 12 คน ที่สำคัญ คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม พลเอก ผิน ชุณหะวัณ พลอากาศเอก ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี พลโท สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และ พลตำรวจโท เผ่า ศรียานนท์ ปรากฏว่าคณะกรรมการได้พิจารณาและลดกำลังกองทัพเรือในลักษณะลดทอนแสนยานุภาพ มากกว่าจะเป็นการปรับปรุงเพื่อให้กองทัพเรือมีสมรรถภาพดีขึ้น โดยมีมติดังนี้

ประการที่ 1 ให้ยุบกรมนาวิกโยธินที่กรุงเทพ ฯ และสัตหีบทั้งหมด คงเหลือไว้เพียง 1 กองพัน และให้ปลดนายทหารที่เกินอัตราออกให้หมด และปลดนายทหารนาวิกโยธินออก เพื่อมิให้กองทัพเรือมีทหารนาวิกโยธินต่อไปอีก เนื่องจากเป็นกองกำลังที่เข้มแข็ง ไม่น่าไว้วางใจ
ประการที่ 2 ให้ย้ายกองบัญชาการกองทัพเรือ จากพระราชวังเดิมไปอยู่ป้อมพระจุลจอมเกล้า จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อไม่ให้ทหารเรืออยู่ในเขตพระนครและธนบุรี เมื่อกองทัพเรือได้ย้ายออกไปแล้วได้ใช้เป็นสถานศึกษาหรือหน่วยงานฝ่ายพลเรือนต่อไป
ประการที่ 3 ให้ย้ายกองเรือรบ ตลอดจนเรือรบในสังกัดทุกลำไปอยู่สัตหีบ และให้เปลี่ยนชื่อกองเรือรบเป็น กองเรือยุทธการ
ประการที่ 4 ให้กองสัญญาณทหารเรือย้ายออกจากศาลาแดงไปอยู่ที่อื่น
ประการที่ 5 ให้โอนกองบินทหารเรือที่จุดเสม็ด สัตหีบ ไปเป็นของกองทัพอากาศ เพราะเห็นว่ากองบินไม่จำเป็นสำหรับกิจการของทหารเรือ หากมีความจำเป็น กองทัพอากาศก็สามารถปฏิบัติการแทนได้ หรือใช้ร่วมกันได้
ประการที่ 6 ให้ยุบเลิกกองสารวัตรทหารเรือ กรุงเทพฯ
ประการที่ 7 ที่ทำการกองเรือรบเดิมที่ท่าราชวรดิฐ ไม่ให้ทหารเรือหรือทหารเหล่าอื่นเข้าอยู่ ประการต่อมา คือ โอนสถานที่ทำการหมวดเรือพระราชพิธีแจวบางส่วนให้ทหารบก ให้โอนเฉพาะพื้นที่ติดคลองสำหรับจอดเรือพระราชพิธีแจวพายเท่านั้น และประการสุดท้าย สถานที่ของกองพันนาวิกโยธิน 4-5 สวนอนันต์ ถนนอิสรภาพ ไม่ให้ทหารเรือเข้าอยู่ และโอนให้เป็นของทหารบก นอกจากนี้ ยังให้ยุบมณฑลทหารเรือที่ 1 ที่ครอบคลุมเขตจังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม และมณฑลทหารเรือที่ 2 ครอบคลุมเขตจังหวัดจันทบุรี ชลบุรี ระยอง ตราด ซึ่งเป็นการย่อส่วนของกองทัพเรือให้เล็กลงทั้งการปฏิบัติการและกำลังพล พร้อมกันนั้นได้ยึดอาวุธยุทธภัณฑ์ส่วนใหญ่ของทหารเรือไป

ยิ่งกว่านั้น ยังมีการเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลที่มีอำนาจสั่งการ กล่าวคือ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2494 คณะรัฐมนตรีและกระทรวงกลาโหมได้มีประกาศและคำสั่งให้นายทหารเรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต่อการกบฏครั้งนี้พักราชการ และปลดออกจากราชการหลายคน เช่น พลเรือเอก สินธ์ กมลนาวิน ผู้บัญชาการทหารเรือ พลเรือโท หลวงเจริญราชนาวา (เจริญ ทุมมานนท์) รองผู้บัญชาการทหารเรือ พลเรือโท ผัน นาวาวิจิต ผู้บัญชาการกองเรือรบ พลเรือตรี ชลิต กุลกำม์ธร รองผู้บัญชาการกองเรือรบ พลเรือตรี กนก นพคุณ ผู้บังคับการมณฑลทหารเรือที่ 1 พลเรือตรี ประวิศ ศรีพิพัฒน์ เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ พลเรือตรี ดัด บุนนาค เจ้ากรมสรรพาวุธทหารเรือ พลเรือตรี แชน ปัจจุสานนท์ รองเสนาธิการทหารเรือฝ่ายยุทธการ พลเรือตรี ชลี สินธุโสภณ ผู้บังคับการกองสัญญาณทหารเรือ และ พลเรือตรี สงวน รุจิราภา นายแพทย์ใหญ่ทหารเรือ และมีผู้ถูกปลดออกจากราชการโดยไม่มีเบี้ยหวัดบำนาญที่สำคัญ เช่น นาวาเอก อานนท์ บุณฑริกาภา และนาวาตรี มนัส จารุภา นอกจากนี้ ยังมีนายทหารเรืออีกประมาณ 70 นายถูกปลดออก การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ทำให้กองทัพเรือมีความเข้มแข็งอีกต่อไป และทหารเรือแทบจะไม่มีบทบาททางการเมืองอีกเลย

กบฏแมนฮัตตันเป็นกบฏครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ ซึ่งบางคนเรียกว่าเป็น
สงครามกลางเมือง ที่คนในชาติเดียวกันต้องมารบราฆ่าฟันกันเองจากสถิติที่มีผู้บันทึกไว้ มีผู้บาดเจ็บและล้มตายเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นประชาชนชาวบ้านที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งของทั้ง 2 ฝ่าย โดยประชาชนเสียชีวิต 118 คน บาดเจ็บสาหัสและไม่สาหัส 191 คน พิการ 9 คน ทหารเรือเสียชีวิต 43 นาย บาดเจ็บ 87 นาย ทหารบกเสียชีวิต 43 นาย บาดเจ็บ 87 นาย ทหารบกเสียชีวิต 17 นาย บาดเจ็บ 115 นาย และตำรวจเสียชีวิต 9 นาย บาดเจ็บ 38 นาย

จากจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตทั้งทหารและพลเรือนดังกล่าวถือเป็นความเสียหายครั้งยิ่งใหญ่ ซึ่งยงไม่รวมความเสียหายที่เป็นสิ่งของและอาวุธยุทโธปกรณ์ในส่วนของประชาชน ทางราชการได้แถลงว่าทรัพย์สินขแงประชาชนที่เสียหายมีจำนวนถึง 670
,000 บาท ไม่นับทรัพย์สินที่ถูกลักขโมยไปในช่วงที่เกิดความวุ่นวายและค่าทำศพของราษฎรอีกเป็นจำนวนมาก โดยรัฐบาลจ่ายให้แก่ผู้เสียชีวิตคนละ 1,500 บาท ผู้ทุพพลภาพคนละ 1,200 บาท และผู้บาดเจ็บสาหัสคนละ 400 บาท ทางด้านความสูญเสียและความเสียหาย กองทัพบกเสียหายประมาณ 6,000,000 บาท กองทัพเรือเสียหายมากที่สุด เป็นทรัพย์สินประมาณ 5,000,000 บาท ทั้งนี้ไม่นับรวมมูลค่าเสียหายของเรือหลวงศรีอยุธยาและเรือคำรณสินธ์ที่อับปางลง เรือหลวงศรีอยุธยานั้นเป็นเรือรบที่เรียกว่าเรือปืนหนัก เป็นเรือที่สั่งต่อพิเศษจากประเทศญี่ปุ่น เรือคำรณสินธ์เป็นเรือขนาดเล็ก นอกจากนี้ กรมอู่ทหารเรือยังถูกไฟไหม้วอด มีเชื้อเพลิงและอาวุธยุทโธปกรณ์ที่สูญหายอีกจำนวนมาก เหล่าที่สูญเสียน้อยที่สุดคงเป็นกองทัพอากาศ ซึ่งรัฐบาลถือว่าเป็น อัศวินขี่ม้าขาว ที่ทำให้กบฏครั้งนี้จบลงเร็วขึ้น ส่วนกรมตำรวจเสียหายประมาณ 380,000 บาท งบประมาณที่ใช้ปราบกบฏมีมูลค่าเป็นเงินทั้งหมด 15 ล้านบาท

   
อ้างอิง