อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ตั้งอยู่ที่บ้านติ้ว หมู่ 6 ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี โดยอยู่ในความดูแลของกรมศิลปกร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2524 และเปิดเป็นทางการเมื่อ 26 มิถุนายน 2535 มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 3,430 ไร่ เดิมชื่อ "ภูกูเวียง" อยู่ในแนวเทือกเขาภูพาน เป็นทิวเขาที่ไม่สูงนัก โดยเฉลี่ย 300-500 เมตร ทอดยาวจากจังหวัดอุบลราชธานี มายังมุกดาหาร กาฬสินธิ์ สกลนคร และอุดรธานี ซึ่งในปัจจุบันรวมถึงจังหวัดหนองบัวลำภูด้วย สภาพของป่าเป็นป่าป่าเบญจพรรณ ไม้ส่วนมากเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น มะค่า เต็ง รัง ขิงชันแดง ประดู่ เป็นต้น เป็นแหล่งพบหลักฐานว่าเป็นแหล่งโบราณคดีที่มีมนุษย์อยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และติดต่อเรื่อยมาถึงสมัยล้านช้าง และอยุธยา
ภูพระบาท เป็นเขาแห่งหนึ่งที่มีหินรูปร่างประหลาดแปลกตา เช่นเดียวกับในอุทยานอีกหลายแห่ง โดยเฉพาะในภาคอีสาน เช่นที่อำเภอเทพสถิตย์ จังหวัดชัยภูมิ หรือ ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น ซึ่งล้วนเกิดจากขบวนการทางธรรมชาติ แต่มนุษย์หลายสมัยได้เข้ามาให้ความหมายกับภูเขาแห่งนี้ พร้อมทั้งทิ้งร่องรอยวัฒนธรรมไว้ให้ชมจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมนุษย์เป็นผู้สร้างความหมายใหม่ให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ สถานที่ท่องเที่ยว ศึกษา
เหล่านั้นแปรสภาพเปลี่ยนรูปร่างไป กลายเป็นรูปร่างประหลด ๆ ให้ผูกเป็นนิยายให้คล้องจองกันได้ และในเวลานั้นยังไม่มีมนุษย์เกิดขึ้น แม้จะล่วงเข้ามาในยุคล้านปีที่ผ่านมา ก็เชื่อว่ายังไม่มีมนุษย์ที่ภูพระบาท ซึ่งตอนนั้นชื่อก็คงยังไม่มีเพราะไม่มีมนุษย์มาตั้งให้ เมื่อมีมนุษย์เกิดขึ้นในโลก กระจายอยู่ทั่วไป เชื่อกันว่าดินแดนอีสานเป็นส่วนหนึ่งที่มีมนุษย์ยุคแรก ๆ ที่เรียกว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เข้ามาอยู่อาศัย ซึ่งนักโบราณคดีเชื่อว่ามีมนุษย์เข้ามาอยู่อาศัยในราว 2,000-3,000 ปีมาแล้ว เนื่องจากพบภาพเขียนสีบนผนังหินมากมายหลายแห่ง เป็นภาพเขียนสีแบบเดียวกับที่พบในแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ทั่วไป เช่นที่ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น
เข้าใจกันว่ามนุษย์ยุคประวัติศาตร์ที่อาศัยอยู่รอบ ๆ ภูพระบาทนี้คงมีความเชื่อว่า ภูพระบาทเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งอาจจะเป็นด้วยรูปลักษณะที่พิกล ๆ ประหลาดของเสาหิน หรือเพิงหินบนเขา ซึ่งมองดูแล้วไม่น่าเชื่อว่าไปตั้ง ไปซ้อนกันโดยธรรมชาติได้อย่างไร มนุษย์นั้นจึงอาจจะเชื่อว่านี่คือ "หลักของโลกและประตูสู่บาดาล" ก็เป็นได้
มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์คงต้องใช้ภูพระบาทที่มีลานหินกว้าง มีเพิงหินเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรม ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และยิ่งเมื่อประมาณ 1,000 ปีที่ผ่านมา พุทธศาสนาได้แพร่หลายเข้ามายังเอเซียอาคเนย์ พร้อมกับรูปแบบศิลปแบบใหม่ที่เรียกว่า แบบ "ทวาราวดี" เชื่อว่าทำให้ชุมชนแห่งนี้รับเอามาผสมผสานกับความเชื่อถือดั้งเดิมเกิดเป็น พุทธแบบทวาราวดี ซึ่งจะเห็นได้จากเสนาหินรอบเพิงหินหลายแห่ง และรูปลักษณะพระพุทธรูปบางองค์เป็นแบบทวาราวดี และเมื่อวัฒนธรรมของขอมแพร่เข้ามา ก็ส่งอิทธิพลความเชื่อแบบฮินดู หรือพรามหณ์ มาสู่ชุมชนภูพระบาท ดังจะเห็นได้จากการดัดแปลงพระพุทธรูปให้กลายเป็นเทวรูปที่ถ้ำพระ มีการแกะสลักผ้านุ่งของเทวรูปให้เป็นแบบของขอม และนักโบราณคดีเชื่อว่าศิลปที่พบที่ภูพระบาทนี้ ได้รับอิทธิพลมาจากล้านช้างและกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 22-23 และสิ้นสุดการเปลี่ยนแปลงในยุคของอยุธยาตอนปลาย ต่อจากนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นอีก จึงถือว่าเป็นอุทยานประวัติศาตร์ แต่ยังไม่ถึงขนาดเป็นมรดกโลกเหมือนอย่างในบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี การเดินทางไปภูพระบาท ก็ต้องไปผ่านจังหวัดอุดรธานีเสียก่อน ซึ่งเจริญขึ้นแทบจะจำถนนหนทาง ร้านอาหารเก่าๆ แทบไม่ได้ รถรามากมายวิ่งกันขวักไขว่ไปหมด โรงแรมที่พักไม่ใช่โรงแรมเดิมที่เคยพักคือเจริญโฮเตล โรงแรมไหนไม่บอกเดี๋ยวเขาเล่นงานเอา โรงแรมใหญ่โต บริการพอใช้ การจราจรวุ่นวายและหนวกหูด้วยเสียงเพลงจากผับทั้งหลายที่แทบจะล้อมโรงแรมนี้ดังตึงๆ กว่าจะสงบได้ก็เลยค่อนคืนไปแล้ว หากเป็นสมัยที่ยังหนุ่มกว่านี้ก็คงต้องสัก 20 ปี เสียงตึงๆ อย่างนี้ไม่เดือดร้อนเพราะนั่งก๊งกันค่อนคืนเหมือนกัน กว่าจะขึ้นมาห้องนอนก็แทบจะคลานขึ้นมา หัวเอียง 45 องศาก็กรนแล้ว แต่ตอนนี้ก็ใกล้ร้อยเข้าไปทุกทีเจอเสียงเพลงตึงๆ นอนไม่หลับและย่านนี้จะหาที่จอดรถได้ยากด้วย เพราะคนจะมาเที่ยวกันแยะ
ตำนานหอนางอุษา
ตำนานรักอันลือเลื่อง
ห่างหายกันไปนาน วันนี้มาอัพเดตตำนานรักแสนเศร้าของชายหญิงคู่หนึ่งที่มีความรักแท้ แม้จะมีความตายมาพรากจากกันก็ตาม
หากเอ่ยถึงคำว่า "รักแท้" ในยุคนี้นับว่าหาได้ยากเต็มที ไม่เหมือนสมัยก่อนที่ผู้คนยึดมั่นในรัก ถึงจะมีอุปสรรคขัดขวางรักก็ยังร่วมกันฟันฝ่า สำหรับเรื่องราวความรักแท้ประเภทแม้ตัวตาย แต่ไม่คลายรักเธอนั้น ได้กลายมาเป็นตำนานรักที่พ้องเข้ากับสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง พร้อมๆกับตำนานความรักอมตะที่จารึกไว้ให้คนรุ่นหลังได้กล่าวถึงและซาบซึ้งในสถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆ
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท : ตำนานรัก "อุสา – บารส"
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาภูพาน ในเขต อ.บ้านผือ
จ.อุดรธานี เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสำคัญเกี่ยวกับอารยธรรมของมนุษย์ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศ คือมีหินทรายที่ถูกกัดกร่อนด้วยกาลเวลาเกิดรูปร่างแปลกตาในรูปทรงต่างๆ นับเป็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติในการจัดแต่งกลุ่มก้อนหินให้มีลักษณะต่างๆซึ่งคนรุ่นเก่าสมัยก่อนได้นำมาผูกแต่งจินตนาการเป็นเรื่องราวให้สอดคล้องกับสถานที่ นั่นคือ
ตำนานรักอุษา-บารส อันลือเลื่อง
พระยาพานผู้ครองเมืองพาน ได้นำธิดาแสนสวยชื่อ "นางอุษา" ไปฝากไว้กับฤาษี ในบริเวณป่าแถวภูพาน เพื่อให้นางอุษาได้ร่ำเรียนวิชา โดยสร้างหอคอยให้อยู่อย่างโดดเดี่ยวลำพังคนเดียว ซึ่งต่อมาชาวบ้านเรียกว่า หอนางอุษา มีลักษณะเป็นเพิงหินรูปคล้ายดอกเห็ด ขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 7 เมตร ตรงผนังหินด้านทิศเหนือของก้อนหินก้อนล่างมีภาพเขียนสีเป็นลายเส้นสีแดง 2-3 เส้น ต่อมานางอุษาได้ร้อยดอกไม้เป็นรูปหงส์ พร้อมข้อความแสวงหาความรักลงในกลีบดอกไม้ อธิษฐานว่าใครที่จะเป็นคู่ครองของนาง ขอให้เก็บพวงมาลัยพวงนี้ได้และขอให้ได้พบกัน แล้วนำไปลอยน้ำ ปรากฏว่า "ท้าวบารส" โอรสแห่งเมืองพระโค เป็นผู้เก็บได้และนึกรักใคร่นางอุษาทันที ได้ออกเดินทางรอนแรมไปตามป่าเขากับม้าคู่ใจ จนไปถึงที่อยู่ของนางอุษา ได้ผูกม้าไว้ที่เพิงหิน ซึ่งเรียกว่า คอกม้าท้าวบารส (มีภาพเขียนสีอยู่บนเพิงหินด้านทิศเหนือ) เมื่อทั้งสองได้พบกัน ความรักก็เกิดขึ้น แต่เมื่อพระยาพานทราบข่าวก็โกรธมาก ได้ท้าพนันสร้างวัดแข่งกัน ภายในเวลาดาวประกายพรึกขึ้น หากฝ่ายใดสร้างเสร็จไม่ทันก็จะถูกตัดศีรษะ ฝ่ายท้าวบารสซึ่งมีแรงงานน้อยกว่า ได้คิดอุบายนำเทียนจุดสว่างไปตั้งอยู่บนปลายไม้เหนือยอดเขาฝ่ายพระยาพานเข้าใจผิดคิดว่าดาวประกายพรึกขึ้น จึงพากันหยุดสร้างขณะเดียวกันฝ่ายท้าวบารสก็เร่งสร้างจนเสร็จ เช้าขึ้นพอรู้ว่าวัดที่ตนเองสร้างไม่เสร็จ พระยาพานจึงถูกตัดศีรษะตามสัญญาแต่พระยาพานก็สามารถฟื้นขึ้นมาใหม่ได้และเกิดการสู้รบกัน ท้าวบารสได้สังหารพระยาพาน นางอุษาเศร้าโศกเสียใจมาก ที่ท้าวบารสฆ่าพ่อของตนเอง และเมื่อกลับไปเมืองพะโค ก็ถูกพระมเหสีทั้ง 10 ของท้าวบารสรังแกและออกอุบายให้ท้าวบารส ออกไปสะเดาะเคราะห์ในป่าเป็นเวลา 1 ปี นางอุษาจึงหนีกลับไปที่หอนางอุษาด้วยความรู้สึกผิดหวังในความรักเกิดล้มป่วยเพราะตรอมใจ กระทั่งเสียชีวิตไป ฝ่ายท้าวบารสทราบข่าวก็รีบมาหา เห็นนางอุษาสิ้นชีวิตไป ก็ตรอมใจสิ้นตามนางไปอีกคน เป็นยังไงบ้างคะ ตำนานแสนเศร้าของทั้งคู่ พบกันใหม่พร้อมกับตำนานรักที่จะได้นำเสนอต่อไป
หอนางอุสา
หอนางอุสา “หอนางอุสา”ถือเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท มีลักษณะเป็นโขดหินรูปคล้ายเห็ดอยู่บนลานหิน โดยก้อนหินด้านบนมีขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 7 เมตร สูงจากพื้นประมาณ 10 เมตร สภาพเช่นนี้แต่เดิมเกิดจากการกระทำตามธรรมชาติและเนื่องจากมีรูปทรงที่แปลกตา มนุษย์ในสมัยก่อนจึงได้ดัดแปลงโดยการก่อหินล้อมเป็นห้องขนาดเล็กเอาไว้ที่เพิงหินด้านบน โดยก่อเป็นห้องที่มีประตูและหน้าต่างขนาดเล็กอยู่ที่ผนังทั้งสองข้าง ห้องมีพื้นที่ไม่กว้างมากนัก แต่สามารถใช้ประกอบพิธีกรรมหรือบำเพ็ญเพียรได้เป็นอย่างดี สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ มีใบเสมาหินขนาดกลางและใหญ่ปักล้อมรอบหอนางอุสาเอาไว้ด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบริเวณนี้เป็นเขตศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนามาแต่ครั้งอดีตกาลแล้ว นิทานอุสา- บารส เล่าถึงหอนางอุสาว่าเป็นที่อยู่ของนางอุสาเมื่อครั้งมาศึกษาวิชากับฤาษีจันทา ซึ่งต่อมาท้าวบารสก็ได้แอบขึ้นไปหาและอยู่กับนางอุสาบนหอสูงแห่งนี้
หีบศพนางอุสา
หีบศพนางอุสา หีบศพนางอุสา เป็นเพิงหินกว้างยาวประมาณ 5X6 เมตร มีแกนหินขนาดเล็กสองข้างค้ำยันหินก้อนใหญ่ที่ทับซ้อนด้านบนดูคล้ายกับโต๊ะหิน เพิงหินด้านล่างมีรอยการสกัดหินจนเรียบเป็นห้องโล่งกว้างประมาณ 2.50 เมตร แต่มีเพดานค่อนข้างเตี้ย อย่างไรก็ตามยังสามารถใช้ประโยชน์ในการบำเพ็ญเพียรได้ นิทานอุสา- บารส เล่าถึงหีบศพนางอุสาว่า เป็นสถานที่ฝังศพของนางอุสา ภายหลังจากพระนางสิ้นพระชนม์ชีพด้วยความตรอมใจ เนื่องจากไม่สมหวังในความรัก
ถ้ำช้าง
ถ้ำช้าง “ถ้ำช้าง” เป็นโขดหินทรายตั้งอยู่บนลานหิน ในลักษณะของแท่งหินซ้อนกัน โขดหินนี้มีความกว้างประมาณ 3 เมตร ยาว 10 เมตร เพิงด้านในมีร่องรอยการสกัดหินด้วยเครื่องมือโลหะ (ประเภทสิ่ว) จนกลายเป็นพื้นเกือบเรียบ สามารถใช้นั่งบำเพ็ญศีลได้ บริเวณผนังหินด้านนอกสำรวจพบภาพเขียนสีอยู่ 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเขียนด้วยสีแดงเข้มเป็นลวดลายหยักขึ้นหยักลงที่ยังไม่ทราบความหมาย ซึ่งเป็นงานศิลปกรรมของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งเขียนเป็นลายเส้นรูปช้างด้วยสีแดงงดงามมาก สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือของช่างสมัยประวัติศาสตร์ในวัฒนธรรมลาว (ล้านช้าง)
หีบศพพ่อตา
หีบศพพ่อตา (หีบศพท้าวกงพาน) “หีบศพพ่อตา” เป็นเพิงที่เกิดจากหินทรายสามก้อนวางทับกัน มีร่องรอยการสกัดหินที่พื้นผนังกลางและส่วนล่าง ทำให้เกิดเป็นห้องโล่งอยู่ทั้งสองข้าง ห้องด้านทิศตะวันตก (เรียกกันอีกชื่อว่า “ถ้ำมือแดง” ) มีรอยสกัดหินด้านล่างจนเป็นพื้นเรียบ เพื่อใช้นั่งบำเพ็ญเพียรหรือทำพิธีกรรม ที่เพดานด้านบนมีร่องรอยภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นรูปฝ่ามือข้างขวาของคน ลายเส้นรูปตาข่าย ลายเส้นโค้งคู่สลับลายหยักฟันปลา และลายเส้นรูปคล้ายรวงผึ้ง ห้องทางทิศตะวันออก สกัดเป็นพื้นเรียบสามระดับ โดยด้านในสกัดเป็นห้องทรงโค้ง (ตามแนวแกนหิน) และลดระดับมาเป็นห้องขนาดเล็กกว้างประมาณ 50 X 50 เซนติเมตร ที่มุมด้านหน้า ส่วนด้านนอกสกัดลดระดับลาดลงไปตามแนวลานพื้นหินธรรมชาติ นิทานอุสา – บารสเล่าว่าสถานที่นี้เป็นที่ฝังศพของท้าวกงพานที่ถูกตัดเศียร ภายหลังแพ้พนันต่อท้าวบารสในการแข่งขันสร้างวัด
พระพุทธบาทบัวบก จังหวัดอุดรธานี
พระพุทธบาทบัวบก อยู่ที่อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี อยู่ห่างจากตัวเมืองอุดร ฯ ประมาณ 55 กิโลเมตร รอยพระพุทธบาท ประดิษฐานอยู่ภายในพระธาตุเจดีย์พระพุทธบาทบัวบก ซึ่งมีลักษณะคล้ายพระธาตุพนม
ตามตำนานพระเจ้าเหยียบโลก กล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาโปรดสัตว์ในที่ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์ได้เสด็จมาประทับอยู่ที่ดอยนันทะดังฮี ในแคว้นหลวงพระบาง ได้ทรงทราบว่า นาคแถบฝั่งโขงมีความดุร้าย มักรบกวนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายอยู่เป็นประจำ เพื่อที่จะโปรดสัตว์ให้พ้นทุกข์ พระองค์จึงได้เสด็จไปยังถ้ำหนองบัวบาน และถ้ำบัวบก อันเป็นที่อาศัยของนาค 2 ตัว คือ กุทโธปาปนาค และมิลินทนาค พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมแก่กุทโธปาปนาค เมื่อกุทโธปาปนาคได้สดับพระธรรมเทศนา ก็บังเกิดความเลื่อมใสประกาศตนเป็นอุบาสก และถือพระไตรสรณาคมณ์เป็นสรณะ ที่พึ่งที่ระลึกตลอดชีวิต หลังจากนั้นกุทโธปาปนาคก็นึกถึงน้องชายคือมิลินทนาคว่า ควรจะได้สดับพระธรรมเทศนาจากพระพุทธองค์เช่นตน เพื่อจะได้ประพฤติตนในทางที่ถูกที่ควร จึงได้กราบทูลขอให้พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรด เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาถึงถ้ำบัวบกอันเป็นที่อยู่ของมิลินทนาค มิลินทนาคก็แสดงฤทธิ์อำนาจเพื่อขัดขวาง และทำร้ายพระพุทธองค์ด้วยวิธีต่าง ๆ แต่ไม่เป็นผล ในที่สุดจึงได้แปลงร่างเป็นมนุษย์ เข้าไปนมัสการพระพุทธองค์เพื่อขอขมา พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดมิลินทนาค เมื่อมิลินทนาคได้สดับพระธรรมเทศนาแล้ว ก็สำนึกผิดในสิ่งที่ตนได้กระทำไปแล้ว และทูลขอบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา แต่เนื่องจากมิลินทนาคมิใช่มนุษย์ พระพุทธองค์จึงอุปสมบทให้ไม่ได้ เพราะผิดพระวินัย ดังนั้นพระพุทธองค์จึงทรงประทานไตรสรณาคมณ์ ให้มิลินทนาคไว้เป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกและถือปฏิบัติต่อไป เป็นการเปลี่ยนวิถีชีวิต จากที่เคยเบียดเบียนทำร้ายสัตว์โลกมาเป็นช่วยเหลือเกื้อกูลสัตว์โลก ตามแนวทางของพระพุทธศาสนา
เมื่อมิลินทนาครับไตรสรณาคมณ์แล้ว จึงกราบทูลขอรอยพระบาทพระพุทธองค์ไว้เป็นที่สักการะบูชา พระพุทธองค์ทรงพิจารณาสถานที่แล้ว จึงได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ ณ สถานที่นี้ แล้วจึงเสด็จกลับพระเชตวันมหาวิหาร พระพุทธบาทแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า พระพุทธบาทบัวบก ตามชื่อถ้ำบัวบกนี้มิลินทนาคอาศัยอยู่
บริเวณวัดพระพุทธบาทบัวบก มีสถานที่อันเนื่องมาจาก ตำนานข้าวต้น คือ ถ้ำพญานาค อยู่ไม่ไกลจากพระพุทธบาทนัก มีลักษณะเป็นรูโพรงขนาดใหญ่ พอที่คนสองคนจะลงไปได้พร้อม ๆ กัน กล่าวกันว่า เป็นที่อาศัยของพญามิลินทนาคตามตำนาน และเชื่อกันว่ารูถ้ำพญานาคนี้ สามารถทะลุออกไปสู่แม่น้ำโขงได้
หลังจากนั้น พระพุทธบาทแห่งนี้ก็ถูกทอดทิ้งมาเป็นระยะเวลานานกว่าสองพันปี อาจจะมีผู้บูรณะมาตามลำดับแต่ไม่ปรากฎหลักฐาน การบูรณะครั้งล่าสุดดังที่เห็นเป็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นการบูรณะเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2462 โดยมีพระภิกษุสงฆ์จำนวนหนึ่งจากอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม มีพระศรีทัตเป็นผู้นำ ได้ธุดงค์มาตามลำดับจนถึง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เพื่อค้นหารอยพระพุทธบาทตามตำนานดังกล่าวข้างต้น ชาวบ้านในแถบนั้นก็ให้ข้อมูลตามที่ทราบ ในที่สุดก็ได้ค้นพบรอยพระพุทธบาทแห่งนี้ จากนั้นจึงได้ขอแรงชาวบ้านในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียง สร้างพระเจดีย์ครอบรอยพระบาท ในการก่อสร้างต้องนำวัสดุมาจากที่ห่างไกล ทั้งจากประเทศไทยและจากประเทศลาว การคมนาคมก็ไม่สดวก ทำให้การก่อสร้างเป็นไปด้วยความยากลำบาก และใช้เวลามาก แต่ด้วยแรงศรัทธาและความตั้งใจแน่วแน่ การก่อสร้างก็แล้วเสร็จ โดยใช้เวลาถึง 14 ปี
บางรูปไม่ชัด บางรูป หาไม่เจอ ถ้ามีรูปต้นไม้แปลกๆ หามาให้ดูด้วยนะ
ตอบลบ