วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

กบฎแมนฮัตตัน (งานคู่)

    กบฏแมนฮัตตัน



เกิดเหตุการณ์ กบฎแมนฮัตตัน

            29 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เกิดเหตุการณ์ "กบฎแมนฮัตตัน" นำโดย นาวาโทมนัส จารุภา ผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย ได้บุกจี้ตัว จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ขณะกำลังทำพิธีรับมอบ "เรือขุดแมนฮัตตัน" ซึ่งสหรัฐอเมริกามอบให้แก่ประเทศไทย ที่ท่าราชวรดิฐ (จึงเป็นที่มาของ "กบฎแมนฮัตตัน") จากนั้นได้เชิญตัวจอมพล ป. ไปขังไว้ที่เรือหลวงศรีอยุธยา ซึ่งจอดอยู่ที่หน้ากองบัญชาการกองทัพเรือ หัวหน้าผู้ก่อการคือ นาวาเอกอานน บุญฑริกธาดา ได้สั่งให้หน่วยทหารเรือมุ่งเข้าสู่พระนครเพื่อยึดอำนาจ และประกาศตั้ง พระยาสารสาสน์ประพันธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี แต่เกิดการสู้รบกันหลายแห่งในพระนคร ระหว่างฝ่ายทหารเรือกับฝ่ายรัฐบาลคือทหารอากาศ ทหารบกและตำรวจ จอมพล ป. พิบูลสงครามจึงสามารถหลบหนีออกมาได้ ในที่สุดฝ่ายรัฐบาลได้ปรามปรามฝ่ายกบฏจนสำเร็จ


กบฏแมนฮัตตัน ชื่อเรียกเหตุการณ์การกบฏในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เมื่อทหารเรือกลุ่มหนึ่ง นำโดย น.ต.มนัส จารุภา รน. ทำการกบฏจี้ตัวจอมพล ป. พิบูลสงคราม ระหว่างเป็นประธานในพิธีรับมอบเรือขุดสันดอนสัญชาติอเมริกัน ชื่อ แมนฮัตตัน ที่กองบัญชาการกองทัพเรือ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โดยนำไปกักขังไว้ในเรือหลวงชื่อ "ศรีอยุธยา" ที่จอดรออยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา

 
หัวหน้าคณะก่อการ คือ น.อ. อานนท์ บุญฑริกธาดา รน. สั่งการให้ทหารเรือกลุ่มที่สนับสนุนการก่อการมุ่งหน้าและตรึงกำลังไว้ที่พระนคร และประกาศตั้ง พระยาสารสาสน์ประพันธ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี โดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม กระจายเสียงในฐานะนายกรัฐมนตรีจากในเรือ แต่ทางฝ่ายรัฐบาลไม่ยอม ได้กระจายเสียงตอบโต้ไปโดยใช้วิทยุของกรมการรักษาดินแดน (ร.ด.) โดยได้ให้นายวรการบัญชา ประธานสภาผู้แทนราษฎรรักษาการณ์นายกรัฐมนตรีแทน และตั้งกองบัญชาการขึ้นที่ทำเนียบรัฐบาล (ในขณะนั้นคือ พระที่นั่งอนันตสมาคม) จึงเกิดการต่อสู้ยิงกันอย่างหนักระหว่างทหารฝ่ายรัฐบาลและทหารฝ่ายก่อการ มีการทิ้งระเบิดจากเครื่องบินแบบ Spirt fire และ T6 ใส่เรือหลวงศรีอยุธยาที่อยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา จนกระทั่งเวลาประมาณ 15.00 น. ของวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เรือก็จม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถูกทหารเรือที่อยู่บนเรือนำว่ายน้ำหลบหนีออกมาได้ โดยการกบฏครั้งนี้นับว่าเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย เพราะสถานที่ต่าง ๆ เสียหาย และมีผู้บาดเจ็บล้มตายนับร้อยทั้งทหารของทั้ง 2 ฝ่าย และประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ภายหลังเหตุการณ์ผู้ก่อการได้แยกย้ายกันหลบหนีไปพม่าและสิงคโปร์
น.ต.มนัส จารุภา รน. ผู้ทำการจี้จอมพล ป. ได้หลบหนีไปพม่าได้สำเร็จ แต่ถูกจับกุมได้หลังจากลักลอบกลับเข้าประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2495

เหตุการณ์สิ้นสุดลงด้วยการจับกุมผู้ต้องหาร่วม 1,000 คน ปล่อยตัวเพราะหาหลักฐานไม่เพียงพอจนเหลือฟ้องศาลประมาณ 100 คน ภายหลังนักโทษคดีนี้ส่วนใหญ่ได้รับการนิรโทษกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2500 เนื่องในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ ในส่วนของกองทัพเรือ แม้ทหารที่ก่อการจะไม่ใช่ทหารระดับสูงและทหารเรือส่วนใหญ่ก็ไม่เกี่ยวข้องด้วย กระนั้น ต่อมา พล.ร.อ.สินธุ์ กมลนาวิน ผู้บัญชาการทหารเรือก็ยังต้องโทษตัดสินจำคุกนานถึง 3 ปี โดยที่ไม่มีความผิด และได้มีการปรับลดอัตรากำลังพลของกองทัพเรือลงไปมาก โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เช่น ยุบกรมนาวิกโยธินกรุงเทพ ยุบกองการบินกองทัพเรือไปรวมกับกองทัพอากาศ ย้ายกองสัญญาณทหารเรือที่ถนนวิทยุ ที่ต่อมากลายเป็นที่ตั้งของโรงเรียนเตรียมทหาร ซึ่งในปัจจุบันคือที่ตั้งของ สวนลุมไนท์บาซ่าร์ นั่นเอง
สาเหตุ
การก่อกบฏแมนฮัตตัน สืบเนื่องมาจากสาเหตุ 3 ประการ คือ
ประการที่ 1 ความไม่พอใจในการบริหารประเทศของรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม สมัยที่ 2 ซึ่งคณะรัฐประหาร พ.ศ.2490 สนับสนุน โดยทหารเรือเห็นว่า รัฐบาลของคณะรัฐประหารมิได้บริหารราชการแผ่นดินเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนอย่างแท้จริง ใช้วิธีเผด็จการโดยปรับปรุงกรมตำรวจให้มีลักษณะเป็น กองทัพ เพื่อข่มขู่ประชาชน และกวาดล้างฝ่ายตรงข้ามอย่างทารุณและไร้มนุษยธรรม
ประการที่ 2 ความตึงเครียดระหว่างทหารบกและตำรวจกับทหารเรือ ซึ่งมีมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยที่ทั้ง 2 ฝ่ายต่างสันบสนุนผู้นำต่างกัน ทหารบกสนับสนุนจอมพล ป. พิบูลสงคราม ทหารเรือสนับสนุนนายปรีดี พนมพงค์ ส่วนตำรวจนั้นมีปัยหาการกระทบกระทั่งกับทหารเรืออยู่เสมอและได้กล่าวหาทหารเรือในเรื่องที่มักให้ผู้กระทำความผิดประเภทใช้อาวุธปล้นจี้หลบซ่อนในเขตทหารเรืออีกด้วย
ประการที่ 3 ความเสื่อมโทรมในกองทัพเรือ เพราะรัฐบาลไม่ไว้วางใจและไม่ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่นับตั้งแต่ครั้งกบฏวังหลวง เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2492 มีการตัดกำลังนาวิกโยธินลง เพราะเห็นว่าไม่ใช่หน้าที่ของกองทัพเรือและรัฐบาลจัดสรรงบประมาณมาให้กองทัพเรือไม่เพียงพอที่จะนำมาปรับปรุงกองทัพได้
คณะผู้ก่อการสำคัญ
ผู้ก่อการกบฏที่เป็นผู้นำสำคัญ คือ พลเรือตรี ทหาร ขำหิรัญ นายทหารนอกราชการ อดีตผู้บังคับการกรมนาวิกโยธิน นาวาเอก อานนท์ ปุณฑริกาภา ผู้บังคับการกองสำรองเรือรบ นาวาตรี มนัส จารุภา ผู้บังคับการเรือหลวงรัตนโกสินทร์ นาวาตรี ประกาย พุทธารี สังกัดกรมนาวิกโยธิน และนาวาตรี สุภัทร ตันตยาภรณ์ สังกัดกรมนาวิกโยธิน นอกนั้นเป็นทหารชั้นผู้น้อย ส่วนผู้นำฝ่ายอื่น ๆ นั้นก็ได้รับการชักชวนจากทหารเรือที่มียศระดับกลาง ๆ โดยไม่มีการให้คำมั่นเท่าที่ควร จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การกบฏประสบความล้มเหลว



มาตรการหลังเหตุการณ์ยุติ
               ภายหลังเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตันยุติลง รัฐบาลได้ดำเนินการให้บ้านเมืองเข้าสู่สภาวะปรกติ ทั้งทางด้านความสงบเรียบร้อยของประชาชน การทหาร และตำรวจซึ่งได้รับความเสียหายจากการสู้รบครั้งนี้ รวมทั้งมีการปรับปรุงกองทัพเรือเสียใหม่ โดยแต่งตั้งคณะกรรมการปรับปรุงกองทัพเรือจำนวน 12 คน ที่สำคัญ คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม พลเอก ผิน ชุณหะวัณ พลอากาศเอก ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี พลโท สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และ พลตำรวจโท เผ่า ศรียานนท์ ปรากฏว่าคณะกรรมการได้พิจารณาและลดกำลังกองทัพเรือในลักษณะลดทอนแสนยานุภาพ มากกว่าจะเป็นการปรับปรุงเพื่อให้กองทัพเรือมีสมรรถภาพดีขึ้น โดยมีมติดังนี้

ประการที่ 1 ให้ยุบกรมนาวิกโยธินที่กรุงเทพ ฯ และสัตหีบทั้งหมด คงเหลือไว้เพียง 1 กองพัน และให้ปลดนายทหารที่เกินอัตราออกให้หมด และปลดนายทหารนาวิกโยธินออก เพื่อมิให้กองทัพเรือมีทหารนาวิกโยธินต่อไปอีก เนื่องจากเป็นกองกำลังที่เข้มแข็ง ไม่น่าไว้วางใจ
ประการที่ 2 ให้ย้ายกองบัญชาการกองทัพเรือ จากพระราชวังเดิมไปอยู่ป้อมพระจุลจอมเกล้า จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อไม่ให้ทหารเรืออยู่ในเขตพระนครและธนบุรี เมื่อกองทัพเรือได้ย้ายออกไปแล้วได้ใช้เป็นสถานศึกษาหรือหน่วยงานฝ่ายพลเรือนต่อไป
ประการที่ 3 ให้ย้ายกองเรือรบ ตลอดจนเรือรบในสังกัดทุกลำไปอยู่สัตหีบ และให้เปลี่ยนชื่อกองเรือรบเป็น กองเรือยุทธการ
ประการที่ 4 ให้กองสัญญาณทหารเรือย้ายออกจากศาลาแดงไปอยู่ที่อื่น
ประการที่ 5 ให้โอนกองบินทหารเรือที่จุดเสม็ด สัตหีบ ไปเป็นของกองทัพอากาศ เพราะเห็นว่ากองบินไม่จำเป็นสำหรับกิจการของทหารเรือ หากมีความจำเป็น กองทัพอากาศก็สามารถปฏิบัติการแทนได้ หรือใช้ร่วมกันได้
ประการที่ 6 ให้ยุบเลิกกองสารวัตรทหารเรือ กรุงเทพฯ
ประการที่ 7 ที่ทำการกองเรือรบเดิมที่ท่าราชวรดิฐ ไม่ให้ทหารเรือหรือทหารเหล่าอื่นเข้าอยู่ ประการต่อมา คือ โอนสถานที่ทำการหมวดเรือพระราชพิธีแจวบางส่วนให้ทหารบก ให้โอนเฉพาะพื้นที่ติดคลองสำหรับจอดเรือพระราชพิธีแจวพายเท่านั้น และประการสุดท้าย สถานที่ของกองพันนาวิกโยธิน 4-5 สวนอนันต์ ถนนอิสรภาพ ไม่ให้ทหารเรือเข้าอยู่ และโอนให้เป็นของทหารบก นอกจากนี้ ยังให้ยุบมณฑลทหารเรือที่ 1 ที่ครอบคลุมเขตจังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม และมณฑลทหารเรือที่ 2 ครอบคลุมเขตจังหวัดจันทบุรี ชลบุรี ระยอง ตราด ซึ่งเป็นการย่อส่วนของกองทัพเรือให้เล็กลงทั้งการปฏิบัติการและกำลังพล พร้อมกันนั้นได้ยึดอาวุธยุทธภัณฑ์ส่วนใหญ่ของทหารเรือไป

ยิ่งกว่านั้น ยังมีการเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลที่มีอำนาจสั่งการ กล่าวคือ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2494 คณะรัฐมนตรีและกระทรวงกลาโหมได้มีประกาศและคำสั่งให้นายทหารเรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต่อการกบฏครั้งนี้พักราชการ และปลดออกจากราชการหลายคน เช่น พลเรือเอก สินธ์ กมลนาวิน ผู้บัญชาการทหารเรือ พลเรือโท หลวงเจริญราชนาวา (เจริญ ทุมมานนท์) รองผู้บัญชาการทหารเรือ พลเรือโท ผัน นาวาวิจิต ผู้บัญชาการกองเรือรบ พลเรือตรี ชลิต กุลกำม์ธร รองผู้บัญชาการกองเรือรบ พลเรือตรี กนก นพคุณ ผู้บังคับการมณฑลทหารเรือที่ 1 พลเรือตรี ประวิศ ศรีพิพัฒน์ เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ พลเรือตรี ดัด บุนนาค เจ้ากรมสรรพาวุธทหารเรือ พลเรือตรี แชน ปัจจุสานนท์ รองเสนาธิการทหารเรือฝ่ายยุทธการ พลเรือตรี ชลี สินธุโสภณ ผู้บังคับการกองสัญญาณทหารเรือ และ พลเรือตรี สงวน รุจิราภา นายแพทย์ใหญ่ทหารเรือ และมีผู้ถูกปลดออกจากราชการโดยไม่มีเบี้ยหวัดบำนาญที่สำคัญ เช่น นาวาเอก อานนท์ บุณฑริกาภา และนาวาตรี มนัส จารุภา นอกจากนี้ ยังมีนายทหารเรืออีกประมาณ 70 นายถูกปลดออก การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ทำให้กองทัพเรือมีความเข้มแข็งอีกต่อไป และทหารเรือแทบจะไม่มีบทบาททางการเมืองอีกเลย

กบฏแมนฮัตตันเป็นกบฏครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ ซึ่งบางคนเรียกว่าเป็น
สงครามกลางเมือง ที่คนในชาติเดียวกันต้องมารบราฆ่าฟันกันเองจากสถิติที่มีผู้บันทึกไว้ มีผู้บาดเจ็บและล้มตายเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นประชาชนชาวบ้านที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งของทั้ง 2 ฝ่าย โดยประชาชนเสียชีวิต 118 คน บาดเจ็บสาหัสและไม่สาหัส 191 คน พิการ 9 คน ทหารเรือเสียชีวิต 43 นาย บาดเจ็บ 87 นาย ทหารบกเสียชีวิต 43 นาย บาดเจ็บ 87 นาย ทหารบกเสียชีวิต 17 นาย บาดเจ็บ 115 นาย และตำรวจเสียชีวิต 9 นาย บาดเจ็บ 38 นาย

จากจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตทั้งทหารและพลเรือนดังกล่าวถือเป็นความเสียหายครั้งยิ่งใหญ่ ซึ่งยงไม่รวมความเสียหายที่เป็นสิ่งของและอาวุธยุทโธปกรณ์ในส่วนของประชาชน ทางราชการได้แถลงว่าทรัพย์สินขแงประชาชนที่เสียหายมีจำนวนถึง 670
,000 บาท ไม่นับทรัพย์สินที่ถูกลักขโมยไปในช่วงที่เกิดความวุ่นวายและค่าทำศพของราษฎรอีกเป็นจำนวนมาก โดยรัฐบาลจ่ายให้แก่ผู้เสียชีวิตคนละ 1,500 บาท ผู้ทุพพลภาพคนละ 1,200 บาท และผู้บาดเจ็บสาหัสคนละ 400 บาท ทางด้านความสูญเสียและความเสียหาย กองทัพบกเสียหายประมาณ 6,000,000 บาท กองทัพเรือเสียหายมากที่สุด เป็นทรัพย์สินประมาณ 5,000,000 บาท ทั้งนี้ไม่นับรวมมูลค่าเสียหายของเรือหลวงศรีอยุธยาและเรือคำรณสินธ์ที่อับปางลง เรือหลวงศรีอยุธยานั้นเป็นเรือรบที่เรียกว่าเรือปืนหนัก เป็นเรือที่สั่งต่อพิเศษจากประเทศญี่ปุ่น เรือคำรณสินธ์เป็นเรือขนาดเล็ก นอกจากนี้ กรมอู่ทหารเรือยังถูกไฟไหม้วอด มีเชื้อเพลิงและอาวุธยุทโธปกรณ์ที่สูญหายอีกจำนวนมาก เหล่าที่สูญเสียน้อยที่สุดคงเป็นกองทัพอากาศ ซึ่งรัฐบาลถือว่าเป็น อัศวินขี่ม้าขาว ที่ทำให้กบฏครั้งนี้จบลงเร็วขึ้น ส่วนกรมตำรวจเสียหายประมาณ 380,000 บาท งบประมาณที่ใช้ปราบกบฏมีมูลค่าเป็นเงินทั้งหมด 15 ล้านบาท

   
อ้างอิง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น